เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 23 ม.ค.ที่บริเวณสนามชัย ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เป็นประธานเปิดโครงการรณรงค์สวมนิรภัยในจังหวัดภูเก็ต 100% โดยมีนางอัญชลี วานิช เทพบุตร เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายทศพร เทพบุตร และนายเรวัต อารีรอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.ต.ท.ก่อเกียรติ วงศ์วรชาติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 พล.ต.ต.พิกัด ตันติพงศ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมในพิธีเปิด และร่วมกันปล่อยขบวนรถจักรยานยนต์จากทุกภาคส่วน ทุกองค์กรที่เข้าร่วมโครงการฯ รวมประมาณ 10,000 คัน ออกรณรงค์ไปตามเส้นทางต่างๆ ในตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้ประชาชนที่ใช้รถจักรยานยนต์ และผู้ซ้อนท้ายมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนและเพื่อให้ประชาชนจังหวัดภูเก็ต ได้ถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นจังหวัดต้นแบบของประเทศไทยนายสุเทพ กล่าวว่า โครงการรณรงค์สวมหมวกนิรภัยในจังหวัดภูเก็ต 100 % เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน และเป็นตัวอย่างที่จะให้จังหวัดอื่นๆ นำไปปฏิบัติต่อไป ซึ่งการลดอุบัติเหตุเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง รวมถึงจะต้องอาศัยความเข้มแข็งของทุกฝ่ายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ ประกอบกับในช่วงปี 2011-2020 องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัย เช่นเดียวกับรัฐบาลไทยก็ได้กำหนดให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนด้วยเช่นกัน โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ 50 % ในปี 2563 “ในการดำเนินการแก้ไขปัญหานั้น จะต้องแก้ไขปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูง ได้แก่ พฤติกรรมของผู้ขับขี่ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เช่น ไม่มีใบขับขี่ ขับรถเร็วเกินกำหนด เมาแล้วขับ เป็นต้น ปัญหาด้านโครงสร้างวิศวกรรมจราจร การวางผังเมือง จุดเสี่ยง จุดตัด ทางแยกต่างๆ โดยจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการยกระดับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง นอกจากนี้จะต้องเพิ่มมาตรการในการตรวจสอบในส่วนของรถให้บริการสาธารณะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาจะพบว่าเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างบ่อย เช่น รถตู้ รถรับส่งนักเรียน เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องสร้างกระแสและกระตุ้นให้ผู้ขับขี่รับรู้รับทราบผลกระทบของอุบัติที่เกิดขึ้น” นายสุเทพกล่าวด้านนายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุย้อนหลัง 5 ปี จังหวัดภูเก็ตมีประชาชนต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ปีละกว่า 200 ราย บาดเจ็บสาหัส 5,699 ราย บาดเจ็บธรรมดา 61,141 ราย มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมประมาณปีละ 7,290 ล้านบาท หรือเดือนละ 280 ล้านบาท ซึ่งอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากรถจักรยานยนต์ 80% และส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย จากความสูญเสียและความเสียหายดังกล่าว ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ให้ประชาชนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้นั่งซ้อนท้าย 100% ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 เป็นต้นมา และกำหนดให้บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ปรากฏว่าได้รับความสนใจและความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างดี สร้างความพึงพอใจให้กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เห็นความสำคัญ จึงได้ส่งคณะทำงานมาศึกษารูปแบบ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ เพื่อนำไปเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นๆ ดำเนินการต่อไปนอกจากนี้ทางตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ตได้มีการขยายโครงการรณรงค์ทั้งจังหวัดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 เป็นต้นมา และกำหนดบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป และจากสถิติอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ ก่อนที่จะมีการรณรงค์ จังหวัดภูเก็ตมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละ 16 ราย เมื่อเริ่มโครงการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตลดลง 50% ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้พี่น้องประชาชนเห็นความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัย จึงได้ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง นับเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดภูเก็ตที่ได้ดำเนินการโครงการนี้จนประสบความสำเร็จเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย นายตรี กล่าวในที่สุด
วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554
เลือกภูเก็ตต้นแบบรณรงค์สวมหมวกนิรภัย100%
เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 23 ม.ค.ที่บริเวณสนามชัย ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เป็นประธานเปิดโครงการรณรงค์สวมนิรภัยในจังหวัดภูเก็ต 100% โดยมีนางอัญชลี วานิช เทพบุตร เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายทศพร เทพบุตร และนายเรวัต อารีรอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.ต.ท.ก่อเกียรติ วงศ์วรชาติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 พล.ต.ต.พิกัด ตันติพงศ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมในพิธีเปิด และร่วมกันปล่อยขบวนรถจักรยานยนต์จากทุกภาคส่วน ทุกองค์กรที่เข้าร่วมโครงการฯ รวมประมาณ 10,000 คัน ออกรณรงค์ไปตามเส้นทางต่างๆ ในตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้ประชาชนที่ใช้รถจักรยานยนต์ และผู้ซ้อนท้ายมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนและเพื่อให้ประชาชนจังหวัดภูเก็ต ได้ถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นจังหวัดต้นแบบของประเทศไทยนายสุเทพ กล่าวว่า โครงการรณรงค์สวมหมวกนิรภัยในจังหวัดภูเก็ต 100 % เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน และเป็นตัวอย่างที่จะให้จังหวัดอื่นๆ นำไปปฏิบัติต่อไป ซึ่งการลดอุบัติเหตุเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง รวมถึงจะต้องอาศัยความเข้มแข็งของทุกฝ่ายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ ประกอบกับในช่วงปี 2011-2020 องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัย เช่นเดียวกับรัฐบาลไทยก็ได้กำหนดให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนด้วยเช่นกัน โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ 50 % ในปี 2563 “ในการดำเนินการแก้ไขปัญหานั้น จะต้องแก้ไขปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูง ได้แก่ พฤติกรรมของผู้ขับขี่ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เช่น ไม่มีใบขับขี่ ขับรถเร็วเกินกำหนด เมาแล้วขับ เป็นต้น ปัญหาด้านโครงสร้างวิศวกรรมจราจร การวางผังเมือง จุดเสี่ยง จุดตัด ทางแยกต่างๆ โดยจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการยกระดับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง นอกจากนี้จะต้องเพิ่มมาตรการในการตรวจสอบในส่วนของรถให้บริการสาธารณะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาจะพบว่าเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างบ่อย เช่น รถตู้ รถรับส่งนักเรียน เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องสร้างกระแสและกระตุ้นให้ผู้ขับขี่รับรู้รับทราบผลกระทบของอุบัติที่เกิดขึ้น” นายสุเทพกล่าวด้านนายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุย้อนหลัง 5 ปี จังหวัดภูเก็ตมีประชาชนต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ปีละกว่า 200 ราย บาดเจ็บสาหัส 5,699 ราย บาดเจ็บธรรมดา 61,141 ราย มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมประมาณปีละ 7,290 ล้านบาท หรือเดือนละ 280 ล้านบาท ซึ่งอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากรถจักรยานยนต์ 80% และส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย จากความสูญเสียและความเสียหายดังกล่าว ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ให้ประชาชนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้นั่งซ้อนท้าย 100% ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 เป็นต้นมา และกำหนดให้บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ปรากฏว่าได้รับความสนใจและความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างดี สร้างความพึงพอใจให้กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เห็นความสำคัญ จึงได้ส่งคณะทำงานมาศึกษารูปแบบ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ เพื่อนำไปเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นๆ ดำเนินการต่อไปนอกจากนี้ทางตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ตได้มีการขยายโครงการรณรงค์ทั้งจังหวัดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 เป็นต้นมา และกำหนดบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป และจากสถิติอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ ก่อนที่จะมีการรณรงค์ จังหวัดภูเก็ตมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละ 16 ราย เมื่อเริ่มโครงการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตลดลง 50% ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้พี่น้องประชาชนเห็นความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัย จึงได้ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง นับเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดภูเก็ตที่ได้ดำเนินการโครงการนี้จนประสบความสำเร็จเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย นายตรี กล่าวในที่สุด
วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554
OPERATION HOT SPOT รับแจ้งเบาะแสค้ายาเสพติดเป้าหมายที่ภูเก็ต
เมื่อเวลา 20.00 น.วันที่ 19 ม.ค.ที่โรงแรมภูเก็ตเกรซแลนด์ รีสอร์ท แอนด์สปา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต พล.ต.ท.อติเทพ ปัญจมานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด พร้อม พล.ต.ท.ก่อเกียรติ วงศ์วรชาติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 พล.ร.ต.สุพจน์ สุดประเสริฐ รอง ผบ.ทร.ภ.3 นายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายเปี่ยน กี่สิ้น นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง และนายโจเซฟ เรแกน ผู้แทนสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา (DEA) ประจำประเทศไทย ได้ร่วมกันเปิดเผยถึงการเปิดโครงการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด การฟอกเงิน และการก่อการร้าย (OPERATION HOT SPOT) ผ่าน WWW.DEA-REWARDS.COM และหมายเลขโทรศัพท์ (662) 2054444 ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลรวมทั้งหมายจับผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดและการฟอกเงินให้นักท่องเที่ยว และประชาชนได้รับทราบ รวมทั้งเพื่อขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวและประชาชน ในการแจ้งข้อมูลเบาะแสการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติด การฟอกเงินให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบผ่านทาง WWW.DEA-REWARDS.COM และหมายเลขโทรศัพท์ (662) 2054444
โดยการประชาสัมพันธ์ดังกล่าวได้จัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เช่น ปากกา ไม้ขีดไฟ ที่ใส่ขวดเบียร์ และอื่นๆ ที่มี่ข้อความชื่อเว็บไซต์ หมายเลขโทรศัพท์ ร่วมทั้งรูปถ่าย-ชื่อของนักค้ายาเสพติดรายสำคัญๆที่ทางการต้องการตัวมากที่สุด เช่น เหว่ยเซียะกัง ซึ่งทำเป็น 10 ภาษาเพื่อนำไปแจกจ่ายในชุมชนต่างๆ ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ซึ่งขณะนี้ได้มีการแจกจ่ายในพื้นที่ซอยบางลา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ตไปแล้ว ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวและประชาชนเป็นอย่างดี
นายโจเซฟ เรแกน ผู้แทนสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา (DEA) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า การปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโครงการนี้เกิดจากแนวความคิดว่าการดำเนินการจะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนและนักท่องเที่ยว ในการแจ้งเบาะแสของนักค้ายาเสพติดรายสำคัญให้แก่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำไปสู่การจับกุม ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาในหลายพื้นที่พบว่าได้รับข้อมูลเข้ามาแล้วจำนวนมาก
ขณะที่ ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กล่าวว่า การดำเนินโครงการ OPERATION HOT SPOT นั้นจะดำเนินการในพื้นที่สำคัญที่เสี่ยงต่อการลักลอบค้ายาเสพติด การกบดานและการฟอกเงินโดยได้มีการดำเนินการไปแล้วหลายพื้นที่เช่น จ.เชียงราย พัทยา ซอยนานา จนมาถึงจังหวัดภูเก็ต
สำหรับจังหวัดภูเก็ต มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะมีทะเลล้อมรอบ และจากการสืบสวนพบว่ามีการลักลอบขนยาเสพติดทางเรือ ซึ่งที่ผ่านมามีทั้งที่จับได้บ้างและจับไม่ได้บ้าง โดยสาเหตุสำคัญของการจับกุม คือ ข้อมูลทางด้านการข่าว โครงการนี้เชื่อว่าจะส่งผลดีถ้ามีการแจ้งเบาะเกี่ยวผู้กระทำความผิดเข้ามาก็จะสามารถนำไปสู่การจับกุมมากขึ้น ซึ่งภูเก็ตเป็นพื้นที่เสี่ยงในการซุกซ่อนและกบดานของผู้กระทำความผิดเพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ
พล.ต.ท.ก่อเกียรติ วงศ์วรชาติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 กล่าวว่า การจัดโครงการ OPERATION HOT SPOT เป็นโครงการที่จะส่งผลดีทางด้านการข่าวซึ่งในส่วนของตำรวจภูธรภาค 8 เองก็ได้มอบนโยบายให้สถานีตำรวจทุกแห่งขึ้นป้ายและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้กำกับเพื่อรับแจ้งข้อมูลยาเสพติดไปแล้ว จากการเปิดดำเนินการ 10 กว่าวัน พบว่ามีการแจ้งข้อมูลเข้ามาแล้วจำนวนมากและสามารถนำไปสู่การจับกุมไปแล้วหลายราย
ขณะที่ นายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นการปราบปรามยาเสพติดได้มีการบูรณาการความร่วมมือจากทุกฝ่ายภูเก็ตเป็นจุดสุดท้ายของขบวนการยาเสพติด ทั้งเรื่องของการขายและการฟอกเงินการปราบปราม จึงต้องดำเนินการในรูปแบบของการบูรณาการดำเนินการใน 3 เรื่อง ป้องกัน ปราบปราม และบำบัด
โดยการประชาสัมพันธ์ดังกล่าวได้จัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เช่น ปากกา ไม้ขีดไฟ ที่ใส่ขวดเบียร์ และอื่นๆ ที่มี่ข้อความชื่อเว็บไซต์ หมายเลขโทรศัพท์ ร่วมทั้งรูปถ่าย-ชื่อของนักค้ายาเสพติดรายสำคัญๆที่ทางการต้องการตัวมากที่สุด เช่น เหว่ยเซียะกัง ซึ่งทำเป็น 10 ภาษาเพื่อนำไปแจกจ่ายในชุมชนต่างๆ ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ซึ่งขณะนี้ได้มีการแจกจ่ายในพื้นที่ซอยบางลา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ตไปแล้ว ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวและประชาชนเป็นอย่างดี
นายโจเซฟ เรแกน ผู้แทนสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา (DEA) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า การปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโครงการนี้เกิดจากแนวความคิดว่าการดำเนินการจะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนและนักท่องเที่ยว ในการแจ้งเบาะแสของนักค้ายาเสพติดรายสำคัญให้แก่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำไปสู่การจับกุม ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาในหลายพื้นที่พบว่าได้รับข้อมูลเข้ามาแล้วจำนวนมาก
ขณะที่ ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กล่าวว่า การดำเนินโครงการ OPERATION HOT SPOT นั้นจะดำเนินการในพื้นที่สำคัญที่เสี่ยงต่อการลักลอบค้ายาเสพติด การกบดานและการฟอกเงินโดยได้มีการดำเนินการไปแล้วหลายพื้นที่เช่น จ.เชียงราย พัทยา ซอยนานา จนมาถึงจังหวัดภูเก็ต
สำหรับจังหวัดภูเก็ต มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะมีทะเลล้อมรอบ และจากการสืบสวนพบว่ามีการลักลอบขนยาเสพติดทางเรือ ซึ่งที่ผ่านมามีทั้งที่จับได้บ้างและจับไม่ได้บ้าง โดยสาเหตุสำคัญของการจับกุม คือ ข้อมูลทางด้านการข่าว โครงการนี้เชื่อว่าจะส่งผลดีถ้ามีการแจ้งเบาะเกี่ยวผู้กระทำความผิดเข้ามาก็จะสามารถนำไปสู่การจับกุมมากขึ้น ซึ่งภูเก็ตเป็นพื้นที่เสี่ยงในการซุกซ่อนและกบดานของผู้กระทำความผิดเพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ
พล.ต.ท.ก่อเกียรติ วงศ์วรชาติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 กล่าวว่า การจัดโครงการ OPERATION HOT SPOT เป็นโครงการที่จะส่งผลดีทางด้านการข่าวซึ่งในส่วนของตำรวจภูธรภาค 8 เองก็ได้มอบนโยบายให้สถานีตำรวจทุกแห่งขึ้นป้ายและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้กำกับเพื่อรับแจ้งข้อมูลยาเสพติดไปแล้ว จากการเปิดดำเนินการ 10 กว่าวัน พบว่ามีการแจ้งข้อมูลเข้ามาแล้วจำนวนมากและสามารถนำไปสู่การจับกุมไปแล้วหลายราย
ขณะที่ นายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นการปราบปรามยาเสพติดได้มีการบูรณาการความร่วมมือจากทุกฝ่ายภูเก็ตเป็นจุดสุดท้ายของขบวนการยาเสพติด ทั้งเรื่องของการขายและการฟอกเงินการปราบปราม จึงต้องดำเนินการในรูปแบบของการบูรณาการดำเนินการใน 3 เรื่อง ป้องกัน ปราบปราม และบำบัด
"อาจาด" หม้อใหญ่ที่สุดในโลกงานเทศกาลอาหารพื้นเมืองของดีชาวภูเก็ต
เมื่อเวลา 19.00 น.วันที่ 20 ม.ค.ที่เวทีกลางสะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าชการจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 3 พร้อมด้วยนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายศิริพัฒ พัฒกุล นายอำเภอกะทู้ และพล.ต.ต.พิกัด ตันติพงศ์ ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต ร่วมตัดริบบิ้นเปิดงาน "เทศกาลอาหารพื้นเมืองของดีชาวภูเก็ต" โดยมีนายกนก ศิริพาณิชกร ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต ฝ่ายบริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานเอกชน และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ร่วมเป็นเกียรติในพิธี จำนวนมาก
ทั้งนี้หลังจากพิธีเปิดผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้พร้อมด้วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต ร่วมโชว์การปรุง อาจาด อาหารพื้นเมืองของภูเก็ต หม้อใหญ่ที่สุดในโลก และร่วมเยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ ภายในงานด้วย
นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กล่าวรายงานถึงความเป็นมาของการจัดงานดังกล่าวต่อประธานในพิธี และผู้เข้าร่วมงานได้ทราบว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก และมีจุดเด่นหลายด้านไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และวิถีชีวิตชาวภูเก็ต โดยเฉพาะความโดดเด่นทางวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งจะเป็นจุดขายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต และสร้างทางเลือกที่ดีให้แก่ผู้มาเยือนเมืองภูเก็ต
องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจึงได้จัดงานเทศกาลอาหารพื้นเมืองของดีชาวภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยนำวัฒนธรรมด้านอาหารพื้นเมืองภูเก็ตมาเป็นสื่อในการเข้ามาเยือนเมืองท่องเที่ยวแห่งนี้ เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยวในการเข้ามาเยือนเมืองท่องเที่ยวแห่งนี้ พร้อมการณรงค์ลดภาวะโลกร้อนเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ตลอดระยะเวลาการจัดงาน
ในการจัดงาน "เทศกาลอาหารพื้นเมืองของดีชาวภูเก็ต" ครั้งนี้ได้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2554 ซึ่งในการจัดงานมีกิจกรรมที่หลากหลาย ประกอบด้วยอาจาดหม้อใหญ่ที่สุดในโลก การชิมอาหารพื้นเมืองภูเก็ต การประกวดมิสภูเก็ต การประกวดแม่ม่ายลูกสวย การแสดงดนตรี การแสดงบนเวที การแสดงของนักเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต การสาธิตปรุงอาหาร ทำขนมไทย การแกะสลักผลไม้ น้ำแข็ง การออกร้านจำหน่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์ การจัดนิทรรศการด้านการสาธารณสุข Clean Food Taste, กิจกรรมลานวัฒนธรรมพื้นบ้านจังหวัดภูเก็ต และบูธรณรงค์เมาไม่ขับ
"การจัดงานครั้งนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างมุมมองใหม่ ให้แก่การท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยการสร้างมาตรฐานของอาหารพื้นเมืองไปสู่ระดับสากลเพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมอีกด้านหนึ่งของภูเก็ต ในการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสำนักกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพที่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมภายในงานครั้งนี้" นายไพบูลย์
ด้านนายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวเสริมว่า แนวคิดที่ได้นำเอาเอกลักษณ์ด้านอาหารพื้นเมืองมาเป็นจุดขายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตถือเป็นความหลากหลายอีกด้านหนึ่ง ที่สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการสร้างทางเลือกที่ดีให้แก่ผู้มาเยือนเมืองภูเก็ตในการสัมผัสกับวิถีชีวิตพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งควรแก่การอนุรักษ์ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นแห่งนี้ต่อไป
สำหรับการจัดงานเทศกาลอาหารพื้นเมืองของดีชาวภูเก็ต ที่ทาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้นในครั้งนี้ เน้นความโดดเด่นทางวัฒนธรรมด้านอาหาร และเป็นการประชาสัมพันธ์อาหารพื้นเมืองของชาวภูเก็ตให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักและรับทราบข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยวหรือเส้นทางการกิน การใช้ ในอนาคตของจังหวัดภูเก็ต
วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554
วชิระภูเก็ตจัดแข่งขันฮูล่าฮูป
เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 19 ม.ค. บริเวณลานจอดรถโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต นายแพทย์เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เป็นประธานเปิดแข่งขันฮูล่าฮูป ซึ่งกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตจัดขึ้น มีบุคลากรของโรงพยาบาลฯ และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมจำนวนมากทั้งนี้การจัดกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมการออกกำลังกาย ของบุคลากรในสถานที่ทำงาน อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดความรัก ความสามัคคีของบุคลากร โดยจัดรูปแบบการแข่งขันเป็นประเภททีม ใช้เกณฑ์อายุรวมของสมาชิกรวมกันไม่น้อยกว่า 200 ปี โดยไม่จำกัดจำนวนคนและหน่วยงาน การแข่งขันจัดขึ้น 2 รอบ รอบแรกในวันที่ 17-19 ม.ค.และรอบที่สองในวันที่ 18-19 เม.ย.ในการแข่งขันครั้งนี้มีบุคลากรผู้รักสุขภาพ เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 16 ทีม รางวัลชนะเลิศได้รับรางวัล 20,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัลปลอบใจ ทีมละ 500 บาท
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้เปิดให้ชมเป็นทางการต้นเดือนมี.ค.ศกนี้
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 18 ม.ค. นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต โดยมีนายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ พร้อมฝ่ายบริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการ พนักงานเทศบาลเมืองกะทู้ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับพร้อมนำชมส่วนต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ โดยมองอนาคตของพิพิธภัณฑ์เหมือแร่แห่งนี้ที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของภูเก็ต ว่า อนาคตสดใสแน่นอน เนื่องจากว่าทุกอย่างที่รวมอยู่ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แห่งนี้ เป็นแหล่งทำรายได้ให้ภูเก็ตเมื่อในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเหมืองแร่ของภูเก็ตทำมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3 และมาสิ้นสุดการทำเหมืองแร่จริงๆ หลังจากแร่ทางโลกตกต่ำลงไป เมื่อประมาณปี 2528 ภูเก็ตโชคดีอย่างหนึ่ง หลังจากที่ผ่านกิจการเหมืองแร่ไปแล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางอื่นๆ ช่วยเสริมในเรื่องของการท่องเที่ยว และจากการมาเยี่ยมชมในครั้งนี้เห็นว่าในอนาคตพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แห่งนี้น่าจะทำเงินได้มากพอสมควร เนื่องจากวิถีการทำชีวิตเหมืองแร่ ณ พิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้สมบูรณ์แบบมากที่สุด หลังจากมีการบำรุงรักษามาโดยตลอดเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ใช้เงินประมาณ 100 กว่าล้านบาท
นายตรี กล่าวอีกว่า จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ ทราบว่าขณะนี้มีผู้มาชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เยอะพอสมควร เนื่องจากยังเป็นการเปิดให้เข้าชมฟรี แต่หลังจากเปิดใช้อย่างเป็นทางการในต้นเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ก็จะมีการเปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมสำหรับนักท่องเที่ยว และนักเรียน นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นรายได้ที่จะสนับสนุนในส่วนของพนักงานที่อยู่ประจำ ณ พิพิธภัณฑ์ฯ อีกส่วนหนึ่งก็จะสนับสนุนเรื่องการปรับปรุงภูมิทัศน์ หรือสิ่งที่คิดว่ามีความชำรุดทรุดโทรมลงไป ก็จะช่วยลดภาระของเทศบาลเมืองกะทู้ไปได้ส่วนหนึ่ง เพื่อที่ทางเทศบาลจะได้เอาเงินงบประมาณของเขาไปพัฒนา สิ่งที่เจริญอยู่แล้ว
“ในการจำหน่ายบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ดังกล่าว ในอัตราต่างๆ ทางจังหวัด เทศบาล และคณะกรรมการต่างๆ จะมีการประชุมกันอีกครั้ง เมื่อถึงจุดนั้น ทุกภาค ทั้งสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวฯ ภูเก็ต เทศบาล และจังหวัด จะมาช่วยกันประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้รู้ว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในภูเก็ต ซึ่งก็เข้าใจว่าถ้าติดตลาดขึ้นมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเป็นแหล่งที่มีความสำคัญของจังหวัดภูเก็ต แล้วก็เป็นแหล่งที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในอนาคต” นายตรี กล่าว
นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ยังได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ ด้วยว่า ส่วนแรก ถ้าพูดถึงตัวอาคาร หรือว่าในห้องต่างๆ ภายในอาคารที่ตนได้เข้าไปดู ก็จะมีหลายจุดที่คิดว่า ขั้นตอน อุปกรณ์การทำเหมืองแร่ยังไม่มากเท่าที่ควร ถ้าเรามีการประชุมนายหัวเหมืองแร่ต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต เพื่อขอสนับสนุนอุปกรณ์การทำเหมืองแร่ที่เก็บสะสมไว้ ก็จะทำให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ดูแล้วมีความเข้าใจ และสมบูรณ์มากมากยิ่งขึ้น ส่วนที่สอง คือภูมิทัศน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ซึ่งมีประมาณ 2 ร้อย ถึง 3 ร้อยไร่ด้วยกัน แล้วก็มีขุมเหมืองขนาดใหญ่ด้วย ถ้าเราทำอย่างอื่นประกอบ คนที่มาเที่ยวนอกจากชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แล้ว อาจจะมีตลาดน้ำเหมืองแร่ในอนาคตมาทำเพิ่มเติมขึ้นมา ก็จะได้มีความหลากหลายในจุดเดียวกัน เพราะฉะนั้นคนที่จะมาเมื่อมาแล้วนอกจากจะชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แล้วอาจจะไปชมวิถีชีวิตการขายอาชีพของพี่น้องชาวภูเก็ต ที่มีความผสมผสานกัน ตนว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับนักท่องเที่ยวในอนาคต
ด้านนายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ กล่าวถึงความคืบหน้าของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ว่า สำหรับพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ใช้งบประมาณลงไปดำเนินการแล้วประมาณ 130 กว่าล้านบาท แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกการก่อสร้างอาคารประมาณ 50 กว่าล้าน ส่วนที่สองการตกแต่งภายในอาคาร ประมาณ 20 กว่าล้าน ส่วน 3 การปรับปรุงภูมิทัศน์ประมาณ 20 กว่าล้าน และส่วนที่ 4 การจัดทำลานเหมืองแร่จำลองประมาณ 20 กว่าล้านบาทโดยในต้นเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ จะมีการแถลงข่าวเปิดพิพิธภัณฑ์ฯ ขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งตอนนี้มีนักเรียน นักศึกษาเข้ามาชมตลอด สำหรับที่ผ่านมาในช่วงปีใหม่แล้วก็วันเด็กมีนักศึกษา นักเรียนเข้ามาชมค่อนข้างที่จะเยอะแต่ ทางเทศบาลหรือว่าทางพิพิธภัณฑ์ยังไม่ได้เก็บค่าบริการต่างๆ ซึ่งถือว่าช่วงนี้เป็นช่วงเรียนรู้เพื่อที่จะให้นักเรียนหรือว่าคนในพื้นที่ได้มาดู แต่หลังจากเปิดตัวแล้ว จะมีการขายบัตรเข้าชม เพื่อที่จะนำเงินส่วนนี้มาปรับปรุงภูมิทัศน์ บำรุงรักษาพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนเพิ่มความรู้ให้กับบุคลากรในพิพิธภัณฑ์ให้มีความรู้มากขึ้น และบุคลากรต่างๆ ก็ต้องหาแหล่งเงินทุนให้สามารถที่จะพอเลี้ยงตัวเองได้ส่วนแผนประชาสัมพันธ์ในกลุ่มนักท่องเที่ยว
นายชัยอนันท์ กล่าวอีกว่า ตอนนี้มีการประชาสัมพันธ์ โดยเชิญท่านผู้ว่าฯ มาถ่ายภาพที่พิพิธภัณฑ์ เพื่อที่จะทำเป็นคัตเอาท์ในการโปรโมท แล้วก็ทำเป็นแผ่นพับ เพื่อที่จะโฆษณาให้รู้ว่าพิพิธภัณฑ์พร้อมเปิดให้เข้าชมแล้ว โดยในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จะมีรายละเอียดตั้งแต่ของเก่าๆ วัฒนธรรม แล้วก็วิถีการทำเหมืองแร่ตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตของชาวบ้าน โดยเฉพาะการทำเหมืองแร่มีวิถีชีวิตเป็นอย่างไร ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่คนที่เคยทำเหมืองแร่บริจาคไว้ให้พิพิธภัณฑ์
วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554
ผู้ว่าฯภูเก็ตเน้นย้ำพิจารณาโครงการบ้านจัดสรรต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชน
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2554 ที่ประชุมหอทะเบียนที่ดิน 2459 สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ว่า ในการประชุมครั้งนี้มีโครงการบ้านจัดสรร ที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ โครงการบ้านจอมทอง ถลาง ของบริษัท จอมทองพรอพเพอร์ตี้ จำกัด โครงการบ้านพร้อมพันธ์ ป่าคลอก ของบริษัท บ้านพร้อมพันธ์ จำกัด
โครงการ บ้านพฤกษาวิลล์ 45 ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) โครงการบ้านพูนทรัพย์ (ทรงคุณ) ของบริษัท ภูเก็ต ชินวัฒน์ พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด โครงการบ้านฉลองสุข ของบริษัท บ้านจรุงกลิ่น จำกัด โครงการรัษฎาโฮม 2 ของนายพิภพ แผลงจากจางและนายต่อศักดิ์ วิทยาพิเชฐ โครงการดับเบิ้ล ของ น.ส.ภารณี ดีเจริญกุล โครงการ เอส.เค.โฮม ใสยวน ของบริษัท ภูเก็ต เอส.เค.โฮม จำกัด
นอกจากนี้ ยังมีการขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร การถอนสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค การขออนุญาตแก้ไขผังโครงการและวิธีจัดสรรที่ดิน และการขออนุญาตก่อภาระผูกพัน
นายตรี กล่าวอีกว่า โครงการที่มีการนำเสนอขออนุญาตนั้น มีทั้งโครงการขนาดเล็ก ขาดกลาง และขาดใหญ่ ซึ่งจากการพิจารณาของคณะกรรมการเห็นชอบให้มีการดำเนินการตามที่ผู้ประกอบการยื่นขออนุญาต แม้ว่าจะมีการอนุญาตแต่ในบางโครงการก็มีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนโครงการที่มีการเทคโอเวอร์และมีปัญหา ก็ได้ให้คณะกรรมการฯ ลงไปตรวจสอบและดำเนินการแก้ปัญหาจนประสบความสำเร็จด้วยดี
ทั้งนี้ ภาพรวมการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของภูเก็ตนั้นยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความต้องการของตลาดก็ยังคงมีสูง
นายตรี กล่าวต่อไปอีกว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมการ ตนได้เน้นย้ำให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลกระทบกับประชาชน โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง ซึ่งมีหลายท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากการเติบโตของโครงการจัดสรร และมีการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องของการจัดทำสาธารณูปโภคเชื่อมระหว่างของหน่วยงานท้องถิ่นกับผู้ประกอบการซึ่งไม่สอดคล้องกัน จนส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกลงมา เช่น ท่อระบายน้ำเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาพื้นที่ต่อเนื่องของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งก็ได้ฝากไปยังท้องถิ่นได้ร่วมมือกันในการจัดสรรงบประมาณมาใช้ในการแก้ไข
โครงการ บ้านพฤกษาวิลล์ 45 ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) โครงการบ้านพูนทรัพย์ (ทรงคุณ) ของบริษัท ภูเก็ต ชินวัฒน์ พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด โครงการบ้านฉลองสุข ของบริษัท บ้านจรุงกลิ่น จำกัด โครงการรัษฎาโฮม 2 ของนายพิภพ แผลงจากจางและนายต่อศักดิ์ วิทยาพิเชฐ โครงการดับเบิ้ล ของ น.ส.ภารณี ดีเจริญกุล โครงการ เอส.เค.โฮม ใสยวน ของบริษัท ภูเก็ต เอส.เค.โฮม จำกัด
นอกจากนี้ ยังมีการขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร การถอนสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค การขออนุญาตแก้ไขผังโครงการและวิธีจัดสรรที่ดิน และการขออนุญาตก่อภาระผูกพัน
นายตรี กล่าวอีกว่า โครงการที่มีการนำเสนอขออนุญาตนั้น มีทั้งโครงการขนาดเล็ก ขาดกลาง และขาดใหญ่ ซึ่งจากการพิจารณาของคณะกรรมการเห็นชอบให้มีการดำเนินการตามที่ผู้ประกอบการยื่นขออนุญาต แม้ว่าจะมีการอนุญาตแต่ในบางโครงการก็มีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนโครงการที่มีการเทคโอเวอร์และมีปัญหา ก็ได้ให้คณะกรรมการฯ ลงไปตรวจสอบและดำเนินการแก้ปัญหาจนประสบความสำเร็จด้วยดี
ทั้งนี้ ภาพรวมการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของภูเก็ตนั้นยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความต้องการของตลาดก็ยังคงมีสูง
นายตรี กล่าวต่อไปอีกว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมการ ตนได้เน้นย้ำให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลกระทบกับประชาชน โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง ซึ่งมีหลายท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากการเติบโตของโครงการจัดสรร และมีการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องของการจัดทำสาธารณูปโภคเชื่อมระหว่างของหน่วยงานท้องถิ่นกับผู้ประกอบการซึ่งไม่สอดคล้องกัน จนส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกลงมา เช่น ท่อระบายน้ำเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาพื้นที่ต่อเนื่องของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งก็ได้ฝากไปยังท้องถิ่นได้ร่วมมือกันในการจัดสรรงบประมาณมาใช้ในการแก้ไข
พร้อมปิดแหล่งปะการังตายจากการฟอกขาวเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ประสานงานเครือข่ายการกู้ภัยทางทะเล และเปิดฝึกอบรมดำน้ำระดับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติทางทะเล ณ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 1 จังหวัดภูเก็ต ถึงสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันว่า ขณะนี้สถานการณ์ปะการังฟอกขาว ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ส่งผลให้ปะการังตายเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะปะการังเขากวางที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวแล้วตายกว่า 90% ซึ่งหลังจากนี้เพื่อฟื้นให้แนวปะการังฟื้นตัวเร็วขึ้นคงจะต้องมีการจัดระเบียบในเรื่องของการท่องเที่ยว เช่นการขยับทุ่นผูกเรือให้ออกมาห่างจากแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวค่อนข้างรุนแรง การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และการปิดแหล่งดำน้ำแนวปะการังธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลว่าจะเข้าไปดำเนินฟื้นฟูอย่างไรเพื่อให้ความสวยงามของแนวปะการังกลับมาเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูสถานการณ์และศึกษาพื้นที่แล้วถ้าพบว่าพื้นที่ใดสมควรจะต้องปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวก็จะต้องปิดเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง ซึ่งในส่วนของฝั่งอันดามันนั้นเท่าที่รับทราบข้อมูลมีหลายพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากการฟอกขาวจำนวนมาก เช่น แนวปะการังบริเวณเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ ซึ่งในการเดินทางมาวันนี้ก็ได้มอบนโยบายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งผลเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาดำเนินการฟื้นฟูแนวปะการังว่าจุดใดควรจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งคิดว่าในเร็วๆนี้น่าจะสามารถดำเนินการได้จัดเจนถึงวิธีการที่เข้าเข้าไปดำเนินการเพื่อฟื้นฟูแนวปะการัง ซึ่งขณะนี้ข้อมูลบางส่วนมีอยู่แล้ว
นายสุวิทย์ ยังกล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาตินั้นจะไม่ดำเนินการเฉพาะแนวปะการังที่เกิดการฟอกขาวเท่านั้นแต่จะรวมไปถึงการฟื้นฟูแนวหญ้าทะเลในพื้นที่ต่างๆด้วยซึ่งแนวหญ้าทะเลนั้นเป็นแหล่งหากินของพะยูนโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตรังนั้นจะเข้าไปดูแลเรื่องของหญ้าทะเลเป็นพิเศษ ซึ่งที่ผ่านมาจากการจัดเก็บข้อมูลพบว่ามีพะยูนตายมากกว่าพะยูนเกิดใหม่จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งเข้าไปดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะปะการังเขากวางที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวแล้วตายกว่า 90% ซึ่งหลังจากนี้เพื่อฟื้นให้แนวปะการังฟื้นตัวเร็วขึ้นคงจะต้องมีการจัดระเบียบในเรื่องของการท่องเที่ยว เช่นการขยับทุ่นผูกเรือให้ออกมาห่างจากแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวค่อนข้างรุนแรง การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และการปิดแหล่งดำน้ำแนวปะการังธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลว่าจะเข้าไปดำเนินฟื้นฟูอย่างไรเพื่อให้ความสวยงามของแนวปะการังกลับมาเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูสถานการณ์และศึกษาพื้นที่แล้วถ้าพบว่าพื้นที่ใดสมควรจะต้องปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวก็จะต้องปิดเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง ซึ่งในส่วนของฝั่งอันดามันนั้นเท่าที่รับทราบข้อมูลมีหลายพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากการฟอกขาวจำนวนมาก เช่น แนวปะการังบริเวณเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ ซึ่งในการเดินทางมาวันนี้ก็ได้มอบนโยบายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งผลเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาดำเนินการฟื้นฟูแนวปะการังว่าจุดใดควรจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งคิดว่าในเร็วๆนี้น่าจะสามารถดำเนินการได้จัดเจนถึงวิธีการที่เข้าเข้าไปดำเนินการเพื่อฟื้นฟูแนวปะการัง ซึ่งขณะนี้ข้อมูลบางส่วนมีอยู่แล้ว
นายสุวิทย์ ยังกล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาตินั้นจะไม่ดำเนินการเฉพาะแนวปะการังที่เกิดการฟอกขาวเท่านั้นแต่จะรวมไปถึงการฟื้นฟูแนวหญ้าทะเลในพื้นที่ต่างๆด้วยซึ่งแนวหญ้าทะเลนั้นเป็นแหล่งหากินของพะยูนโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตรังนั้นจะเข้าไปดูแลเรื่องของหญ้าทะเลเป็นพิเศษ ซึ่งที่ผ่านมาจากการจัดเก็บข้อมูลพบว่ามีพะยูนตายมากกว่าพะยูนเกิดใหม่จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งเข้าไปดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554
กมธ. วุฒิสภา ลงภูเก็ตรับทราบการดำเนินงานด้านความมั่งคง
เมื่อวันที่14 ม.ค.พล.อ.เกษมศักดิ์ ปลูกสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา กล่าวภายหลังนำคณะฯ ประชุมร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐเกี่ยวข้อง นำโดยนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ที่ห้องประชุมชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เรื่องโครงการด้านการรักษาความมั่นคงและความสงบ การดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งการปฏิบัติการตามแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐจังหวัดภูเก็ต ว่า
เราเป็นคณะกรรมาธิการที่ดูแลเรื่องการบริหารงบประมาณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรวมไปถึงจังหวัดสตูล และสงขลาด้วย เราไปมา 3 ปีแล้ว ก็เลยอยากจะมาฟังเรื่องราวของภูเก็ตจังหวัดข้างเคียงบ้างว่าคิดอย่างไรกับการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งวันนี้เรามาฟังเรื่องการบริหารงบประมาณว่าทำแล้วมีจุดบกพร่องตรงไหน ก็เลยถือโอกาสมาเยี่ยมแล้วก็รับฟัง ซึ่งก็ถือว่ามีประโยชน์พอสมควร
สำหรับประเด็นปัญหาอุปสรรคที่ทางส่วนราชการจังหวัดภูเก็ตเสนอมาก็มีเยอะมากที่ต้องการให้คณะกรรมาธิการฯ ร่วมผลักดันเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องแรงงาน การจราจร ซึ่งภูเก็ตตอนนี้มีปัญหารถติดมาก แล้วก็ดูแลเรื่องงบประมาณ คิดว่ายังมีขาดแคลนอยู่หลายจุด
“เราเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เราคงแก้ปัญหาให้โดยตรงไม่ได้ ก็ต้องเรียนทางรัฐบาล ไปว่า มีปัญหาตรงนั้น อย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่จริงที่เราดูแลโดยตรงคือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา ส่วนภูเก็ตถือว่าเรามาเยี่ยมชม มาฟังความคิดเห็น”
พล.อ.เกษมศักดิ์ ยังได้กล่าวถึงการเดินทางไปเยี่ยมเยียนคณะกรรมการอิสลามจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมาเพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของเขาว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับการดำเนินการทางด้าน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เขาอยากให้เราทำยังไง ทำอย่างนี้ตรงจุดไหม เราก็ไปคุยกัน เขาก็บอกว่า บางทีเรายังแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะว่าคนในจังหวัด อยากจะให้เราทำตรงจุดนี้ รัฐบาลยังไม่ได้ทำ อย่างเช่นในเรื่องเยาวชน เรื่องการมองคนมุสลิมให้เหมือนกับคนไทยพุทธทั่วๆ ไป ซึ่งตอนนี้ตนคิดว่ารัฐบาลได้ปรับปรุงแก้ไขพอสมควร บุคลากรทางด้านความมั่นคงที่ลงมาเรามีการฝึกสอนอบรม มีการแจ้งให้ทราบว่าประเพณีวัฒนธรรมเขาเป็นอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามยังมีเรื่องที่รัฐบาลต้องแก้ไขอีกเยอะ
เราเป็นคณะกรรมาธิการที่ดูแลเรื่องการบริหารงบประมาณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรวมไปถึงจังหวัดสตูล และสงขลาด้วย เราไปมา 3 ปีแล้ว ก็เลยอยากจะมาฟังเรื่องราวของภูเก็ตจังหวัดข้างเคียงบ้างว่าคิดอย่างไรกับการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งวันนี้เรามาฟังเรื่องการบริหารงบประมาณว่าทำแล้วมีจุดบกพร่องตรงไหน ก็เลยถือโอกาสมาเยี่ยมแล้วก็รับฟัง ซึ่งก็ถือว่ามีประโยชน์พอสมควร
สำหรับประเด็นปัญหาอุปสรรคที่ทางส่วนราชการจังหวัดภูเก็ตเสนอมาก็มีเยอะมากที่ต้องการให้คณะกรรมาธิการฯ ร่วมผลักดันเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องแรงงาน การจราจร ซึ่งภูเก็ตตอนนี้มีปัญหารถติดมาก แล้วก็ดูแลเรื่องงบประมาณ คิดว่ายังมีขาดแคลนอยู่หลายจุด
“เราเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เราคงแก้ปัญหาให้โดยตรงไม่ได้ ก็ต้องเรียนทางรัฐบาล ไปว่า มีปัญหาตรงนั้น อย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่จริงที่เราดูแลโดยตรงคือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา ส่วนภูเก็ตถือว่าเรามาเยี่ยมชม มาฟังความคิดเห็น”
พล.อ.เกษมศักดิ์ ยังได้กล่าวถึงการเดินทางไปเยี่ยมเยียนคณะกรรมการอิสลามจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมาเพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของเขาว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับการดำเนินการทางด้าน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เขาอยากให้เราทำยังไง ทำอย่างนี้ตรงจุดไหม เราก็ไปคุยกัน เขาก็บอกว่า บางทีเรายังแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะว่าคนในจังหวัด อยากจะให้เราทำตรงจุดนี้ รัฐบาลยังไม่ได้ทำ อย่างเช่นในเรื่องเยาวชน เรื่องการมองคนมุสลิมให้เหมือนกับคนไทยพุทธทั่วๆ ไป ซึ่งตอนนี้ตนคิดว่ารัฐบาลได้ปรับปรุงแก้ไขพอสมควร บุคลากรทางด้านความมั่นคงที่ลงมาเรามีการฝึกสอนอบรม มีการแจ้งให้ทราบว่าประเพณีวัฒนธรรมเขาเป็นอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามยังมีเรื่องที่รัฐบาลต้องแก้ไขอีกเยอะ
วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554
นครภูเก็ตเปิดศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว
เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 12ม.ค.นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เป็นประธานเปิดศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว เทศบาลนครภูเก็ต ณ บ้านเลขที่ 63 ถนนถลาง อ.เมือง จ.ภูเก็ต มีนายศุภชัย โพชนุกูล นายอำเภอเมืองภูเก็ต พ.ต.อ.ชลิต แก้วยะรัตน์ รองผบก.ภ.จว.ภูเก็ต นางบังอรรัตน์ ชินะประยูร ผอ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต ประธานมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต ประธานชุมชนเมืองเก่าภูเก็ต รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ฝ่ายบริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการเทศบาลนครภูเก็ต แขกผู้มีเกียรติ และประชาชนทั่วไป รวมถึงนักท่องเที่ยว เข้าร่วม
น.ส.สมใจ กล่าวว่า สืบเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในระดับโลก หาดทรายที่สวยงามเป็นส่วนสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของเยาวชนทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันเป็นอัตลักษณ์ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากขึ้น จะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เขตพื้นที่ย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ตได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
น.ส.สมใจ กล่าวอีกว่า การพัฒนาเศรษฐกิจเมืองให้มีความเข้มแข็ง เป็นหนึ่งนโยบายสร้างความสุขให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่นครภูเก็ตได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ทำให้สามารถสร้างและเพิ่มรายได้อันจะนำไปสู่ความอยู่ดีกินดีมีความสุขตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อย่างไรก็ตาม ตนขอเชิญชวนพี่น้องชาวภูเก็ตร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจเมืองภูเก็ตให้เป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยการร่วมกันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเขตเมืองในระดับประเทศและระดับสากล ร่วมกันรักษาความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืนถาวร ร่วมกันใส่ใจดูแล รักษาสิ่งแวดล้อมเมืองให้มีความสะอาด
อบจ.ภูเก็ตเก็บค่าธรรมเนียมห้องพักปี 53 ได้กว่า 60 ล้าน
นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ภูเก็ต กล่าวถึงการจัดเก็บค่าธรรมเนียมห้องพักโรงแรมต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า สำหรับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมห้องพักขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตนั้นในปี 2553 ทาง อบจ.สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้มากถึง 60 ล้านบาท
โดยในปี 2554 ทาง อบจ.ตั้งเป้าจัดเก็บค่าธรรมเนียมห้องพักไว้ที่ 70 ล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถจัดเก็บได้ตามเป้าที่วางไว้ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการเข้าร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมมากขึ้นเรื่อย ซึ่งขณะนี้ยังเหลือประมาณ 30% ที่ยังไม่จ่ายค่าธรรมเนียมห้องพักให้กับทาง อบจ.
โดยหลังจากนี้จะดำเนินการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญในการจ่ายค่าธรรมเนียมห้องพัก รวมทั้งประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่จ่ายค่าธรรมเนียม เนื่องจากรายได้ดังกล่าวเป็นรายได้ส่วนหนึ่งที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตนำไปใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากทำความเข้าใจและชี้แจ้งข้อเท็จจริงต่างๆ แล้วหากผู้ประกอบการยังไม่ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนดก็พร้อมที่ใช้ใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามาดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าอีกไม่นานผู้ประกอบการที่ยังไม่ยอบเข้าสู่ระบบจะค่อยๆทยอยเข้ามาเพราะสิ่งที่ทาง อบจ.ทำให้กับผู้ประกอบการที่จ่ายค่าธรรมเนียมห้องพักนั้นมีผลประโยชน์ต่อตัวผู้ประกอบการจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดโรดโชว์ซึ่งคนที่จ่ายค่าธรรมเนียมห้องพักจะมีสิทธิ์ในการเลือกบูธก่อน
นายไพบูลย์ กล่าวถึงการตั้งงบเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตด้วยว่า ปีนี้ทาง อบจ. ตั้งงบไว้ประมาณ 60 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นงบที่ตั้งไว้สำหรับการจัดโรดโชว์ประมาณ 20 ล้าน ซึ่งเป็นการออกไปจัดโรดโชว์ส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อตอกย้ำความพร้อมของจังหวัดภูเก็ตในการต้อนรับนักท่องเที่ยว
นอกจากนั้น เป็นงบในส่วนของการติดตั้งกล้อม CCTV ซึ่งขณะนี้ในเขตเมืองนั้นได้มีการติดตั้งครอบคลุมแล้ว และเตรียมที่จะขายไปในพื้นที่เทศบาลตำบลราไวย์ และ ต.รัษฎา ต่อไป นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของบีชการ์ดเพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวที่ลงเล่นน้ำตามชายหาดต่างๆของจังหวัด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาบีชการ์ดสามารถช่วยชีวิตนักท่องเที่ยวจากการจมน้ำได้มากกว่า
โดยในปี 2554 ทาง อบจ.ตั้งเป้าจัดเก็บค่าธรรมเนียมห้องพักไว้ที่ 70 ล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถจัดเก็บได้ตามเป้าที่วางไว้ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการเข้าร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมมากขึ้นเรื่อย ซึ่งขณะนี้ยังเหลือประมาณ 30% ที่ยังไม่จ่ายค่าธรรมเนียมห้องพักให้กับทาง อบจ.
โดยหลังจากนี้จะดำเนินการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญในการจ่ายค่าธรรมเนียมห้องพัก รวมทั้งประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่จ่ายค่าธรรมเนียม เนื่องจากรายได้ดังกล่าวเป็นรายได้ส่วนหนึ่งที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตนำไปใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากทำความเข้าใจและชี้แจ้งข้อเท็จจริงต่างๆ แล้วหากผู้ประกอบการยังไม่ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนดก็พร้อมที่ใช้ใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามาดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าอีกไม่นานผู้ประกอบการที่ยังไม่ยอบเข้าสู่ระบบจะค่อยๆทยอยเข้ามาเพราะสิ่งที่ทาง อบจ.ทำให้กับผู้ประกอบการที่จ่ายค่าธรรมเนียมห้องพักนั้นมีผลประโยชน์ต่อตัวผู้ประกอบการจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดโรดโชว์ซึ่งคนที่จ่ายค่าธรรมเนียมห้องพักจะมีสิทธิ์ในการเลือกบูธก่อน
นายไพบูลย์ กล่าวถึงการตั้งงบเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตด้วยว่า ปีนี้ทาง อบจ. ตั้งงบไว้ประมาณ 60 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นงบที่ตั้งไว้สำหรับการจัดโรดโชว์ประมาณ 20 ล้าน ซึ่งเป็นการออกไปจัดโรดโชว์ส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อตอกย้ำความพร้อมของจังหวัดภูเก็ตในการต้อนรับนักท่องเที่ยว
นอกจากนั้น เป็นงบในส่วนของการติดตั้งกล้อม CCTV ซึ่งขณะนี้ในเขตเมืองนั้นได้มีการติดตั้งครอบคลุมแล้ว และเตรียมที่จะขายไปในพื้นที่เทศบาลตำบลราไวย์ และ ต.รัษฎา ต่อไป นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของบีชการ์ดเพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวที่ลงเล่นน้ำตามชายหาดต่างๆของจังหวัด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาบีชการ์ดสามารถช่วยชีวิตนักท่องเที่ยวจากการจมน้ำได้มากกว่า
มอบบ้าน รางวัลที่ 1 สลากกาชาดภูเก็ต ประจำปี 2554
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนางนลินี อัครเดชา นายกเหล่ากาชาด จังหวัดภูเก็ต นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ และนายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายศิริพัฒ พัฒกุล นายอำเภอกะทู้ นายจุฑา ดุมลักษณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกมลา นายไพฑูรย์ เลิศไกร เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต และสมาชิกเหล่ากาชาด จังหวัดภูเก็ต ร่วมมอบรางวัลที่ 1 (บ้านจัดสรร)ให้แก่นายอธิพล วงษ์มหา ผู้จัดการ เดอะบลู มารีน รีสอร์ท แอนด์สปา ผู้โชคดีจากการออกรางวัลสลากกาชาด งานเทศกาลของดีภูเก็ตและงาดกาชาดจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2554 ที่ศาลากลาง จ.ภูเก็ต เมื่อ 12 ม.ค.
ททท.จัดกิจกรรม "ท่องโพถ้อง..ชุดเถา..ชุดเถา..ตรุษจีน"
นางบังอรรัตน์ ชินะประยูร ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานภูเก็ต กล่าวว่า ททท.สำนักงานภูเก็ตได้ส่งเสริมงานตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต ครั้งที่ 12 ประจำปี 2554 ที่ทางเทศบาลนครภูเก็ตร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องจัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2554 บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี และบริเวณรอบถนนถลาง ถนนพังงา อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยทาง ททท.สำนักงานภูเก็ต ได้จัดนำเที่ยวด้วยรถโพถ้องซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นความภาคภูมิใจของคนในภูเก็ตให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และนอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมตื่นตาตื่นใจกับการแสดงสาธารณรัฐประชาชนจีนจากเมืองสุ่ยหนิง มณฑลเสฉวน มาร่วมสร้างสีสันภายในงาน ชมชุดการแสดงทั้งหมด 6 ชุด เช่น ระบำเปลี่ยนหน้ากากพ่นไฟ งิ้วเสฉวน มายากลสุ่ยหนิง การแสดงศิลปะเงามือ ดนตรีเครื่องสายจากเมืองสุ่ยหนิง โดยผู้ที่ชื่นชอบการแสดงและนักท่องเที่ยวสามารถชมการแสดงจากจีน ตลอด 3 คืน ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 19.00-22.00 น.
"ในปีนี้ ททท.สำนักงานภูเก็ต ได้เสริมกิจกรรมท่องเที่ยว "ท่องโพถ้อง..ชุดเถา..ชุดเถา..ตรุษจีน" โดยร่วมกับพิพิธภัณฑ์ไทยหัวและนิตยสารคนภูเก็จ วันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 09.00-15.00 น. ราคาท่านละ 99 บาท รายได้ทั้งหมดมอบให้กับศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ต สำหรับรูปแบบทัวร์จะนำท่านเดินทางสักการะองค์เทพ ตามอ๊ามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอพรในเทศกาลตรุษจีน โดยเริ่มต้นลงทะเบียนที่ ททท.สำนักงานภูเก็ต ถ.ถลาง จากนั้นเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ศาลเจ้าปุดจ้อ-ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย-ศาลเจ้าแสงธรรม ศาลเจ้ากะทู้-ศาลเจ้าสามกอง-ศาลเจ้าเจ๋งอ๋อง-ศาลเจ้าบางเหนียว-ศาลเจ้าผ่อต่อก๊ง-ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง จากนั้นขอเชิญท่านร่วมงานตรุษจีน ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต เพลิดเพลินกับสีสันในมิติแห่งแสง สี เสียง ท่ามกลางบรรยากาศย้อนอดีตมณฑลภูเก็ต ตลอดถนนถลางและถนนพังงา" นางบังอรรัตน์ กล่าวในที่สุด
"ในปีนี้ ททท.สำนักงานภูเก็ต ได้เสริมกิจกรรมท่องเที่ยว "ท่องโพถ้อง..ชุดเถา..ชุดเถา..ตรุษจีน" โดยร่วมกับพิพิธภัณฑ์ไทยหัวและนิตยสารคนภูเก็จ วันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 09.00-15.00 น. ราคาท่านละ 99 บาท รายได้ทั้งหมดมอบให้กับศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ต สำหรับรูปแบบทัวร์จะนำท่านเดินทางสักการะองค์เทพ ตามอ๊ามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอพรในเทศกาลตรุษจีน โดยเริ่มต้นลงทะเบียนที่ ททท.สำนักงานภูเก็ต ถ.ถลาง จากนั้นเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ศาลเจ้าปุดจ้อ-ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย-ศาลเจ้าแสงธรรม ศาลเจ้ากะทู้-ศาลเจ้าสามกอง-ศาลเจ้าเจ๋งอ๋อง-ศาลเจ้าบางเหนียว-ศาลเจ้าผ่อต่อก๊ง-ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง จากนั้นขอเชิญท่านร่วมงานตรุษจีน ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต เพลิดเพลินกับสีสันในมิติแห่งแสง สี เสียง ท่ามกลางบรรยากาศย้อนอดีตมณฑลภูเก็ต ตลอดถนนถลางและถนนพังงา" นางบังอรรัตน์ กล่าวในที่สุด
ภูเก็ตส่ง 16 หาดประกวดชายหาดติดดาว
นางสาวจุฑามาศ รัตติกาลสุขะ รักษาการผู้อำนวยการส่วนแหล่งน้ำทะเล กรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการโครงการชายหาดติดดาวมาตั้งแต่ปี 2545 เพื่อที่จะรักษาความเป็นธรรมชาติของชายหาดในประเทศให้มีความสวยงามอย่างยั่งยืน โดยจะประเมินคุณภาพของชายหาด 2 ปีครั้ง
โดยครั้งล่าสุดได้มีการประเมินไปเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา ในปี 2554 นี้จะเน้นการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาด เพื่อรักษาคุณภาพของชายหาดให้มีความสวยงามและคงไว้ซึ่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยทางกรมควบคุมมลพิษจะเข้ามาประเมินในส่วนของคุณภาพน้ำทะเลและปริมาณขยะในทะเล ส่วนด้านอื่นๆ นั้นจะมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของคณะทำงานประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดในพื้นที่นั้น จะประมาณในเดือน ก.พ.-มี.ค.นี้ โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน 4 ด้านหลักด้วยกัน คือ คุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ สภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติ การจัดการด้านการท่องเที่ยว และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
นางสาวจุฑามาศ กล่าวว่า การประกาศหาดติดดาวครั้งล่าสุด มีชายหาดในภูเก็ตเข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 14 หาด ซึ่งจากการประเมินอยู่ในระดับ 3 ดาว โดยมีจุดอ่อนอยู่ที่ปัญหาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มสูง เช่น ที่หาดราไวย์ หาดป่าตอง สันทรายถูกทำลาย การจัดการขยะไม่เพียงพอ มีการรุกล้ำชายหาด ที่นั่ง ร่ม เตียงผ้าใบ ตลอดแนวชายหาด มีสิ่งปลูกสร้างที่เป็นโรงแรมและที่พักตามชายหาด ไม่มีป้ายเตือนภัยนักท่องเที่ยว และมีเสียงดังคึกโครม เป็นต้น ซึ่งในปีนี้มีชายหาดต่างๆในภูเก็ตถูกเสนอชื่ออย่างร่วมการประเมินทั้งหมด 16 หาด ขณะที่ในส่วนของคณะทำงานประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ในโครงการชายหาดติดดาว ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มองว่า การประเมินที่ออกมานั้นไม่สอดรับกับความเป็นจริง อยากที่จะให้มีการปรับเกณฑ์การประเมินให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงระหว่างหาดที่มีชื่อเสียงและมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเป็นจำนวนมากกับชายหาดที่นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวจำนวนน้อยมากๆ และเห็นว่าผลการประเมินที่ชายหาดภูเก็ตได้แค่ 3 ดาวนั้นจะเป็นภาพพจน์ด้านลบว่าหาดที่ภูเก็ตไม่สวยงาม ทั้งๆ ที่หาดที่ภูเก็ตได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวให้เป็นหาดที่น่าเที่ยวหลายๆ หาด
โดยครั้งล่าสุดได้มีการประเมินไปเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา ในปี 2554 นี้จะเน้นการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาด เพื่อรักษาคุณภาพของชายหาดให้มีความสวยงามและคงไว้ซึ่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยทางกรมควบคุมมลพิษจะเข้ามาประเมินในส่วนของคุณภาพน้ำทะเลและปริมาณขยะในทะเล ส่วนด้านอื่นๆ นั้นจะมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของคณะทำงานประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดในพื้นที่นั้น จะประมาณในเดือน ก.พ.-มี.ค.นี้ โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน 4 ด้านหลักด้วยกัน คือ คุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ สภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติ การจัดการด้านการท่องเที่ยว และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
นางสาวจุฑามาศ กล่าวว่า การประกาศหาดติดดาวครั้งล่าสุด มีชายหาดในภูเก็ตเข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 14 หาด ซึ่งจากการประเมินอยู่ในระดับ 3 ดาว โดยมีจุดอ่อนอยู่ที่ปัญหาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มสูง เช่น ที่หาดราไวย์ หาดป่าตอง สันทรายถูกทำลาย การจัดการขยะไม่เพียงพอ มีการรุกล้ำชายหาด ที่นั่ง ร่ม เตียงผ้าใบ ตลอดแนวชายหาด มีสิ่งปลูกสร้างที่เป็นโรงแรมและที่พักตามชายหาด ไม่มีป้ายเตือนภัยนักท่องเที่ยว และมีเสียงดังคึกโครม เป็นต้น ซึ่งในปีนี้มีชายหาดต่างๆในภูเก็ตถูกเสนอชื่ออย่างร่วมการประเมินทั้งหมด 16 หาด ขณะที่ในส่วนของคณะทำงานประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ในโครงการชายหาดติดดาว ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มองว่า การประเมินที่ออกมานั้นไม่สอดรับกับความเป็นจริง อยากที่จะให้มีการปรับเกณฑ์การประเมินให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงระหว่างหาดที่มีชื่อเสียงและมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเป็นจำนวนมากกับชายหาดที่นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวจำนวนน้อยมากๆ และเห็นว่าผลการประเมินที่ชายหาดภูเก็ตได้แค่ 3 ดาวนั้นจะเป็นภาพพจน์ด้านลบว่าหาดที่ภูเก็ตไม่สวยงาม ทั้งๆ ที่หาดที่ภูเก็ตได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวให้เป็นหาดที่น่าเที่ยวหลายๆ หาด
วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554
ภูเก็ตหารือแผนการดำเนินงานโครงการคลังปัญญาผู้สูงอายุ ปี 2554
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 12 มกราคม 2554 ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมด้านผู้สูงอายุจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/ 2554 โดยมี นางสาวพรรณี สิทธิการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต นายสุทธิพงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ต นายแพทย์ศักดิ์ แท่นชัยกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
สำหรับการประชุมครั้งนี้เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการคลังปัญญาผู้สูงอายุ ปี 2554 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานตามโครงการ และเพื่อร่วมกันพิจารณาคัดเลือกผู้สูงอายุผู้เป็นภูมิปัญญาจำนวนไม่เกิน 3 คน ซึ่งในส่วนของการคัดเลือกผู้สูงอายุ ได้มีหน่วยงานเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นผู้สูงอายุผู้เป็นภูมิปัญญาดีเด่น รวม 5 คน โดยผู้ที่ได้รับการรับเลือกผู้สูงอายุผู้เป็นภูมิปัญญา จำนวน 3 คน ได้แก่ นายไชยยุทธ ปิ่นประดับ อายุ 73 ปี จากสำนักงานเทศบาลเมืองกะทู้ ภูมิปัญญาและความเชี่ยวชาญคือ ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ภาษาถิ่น (ภูเก็ต) กรรมวิธีการทำเหมืองแร่ดีบุก คนต่อไปคือนายสุชาติ ภูวรัตน์ อายุ 65 ปี จากศูนย์ประสานงานชมรมผู้สูงอายุจังหวัดภูเก็ต ภูมิปัญญาและความเชี่ยวชาญคือ นวดบำบัดอาการต่าง ๆ กดจุด ตอกเส้น จัดกระดูก นวดน้ำมันล้างพิษปรับสมดุล ทำยาหม่อง ยาดมสมุนไพร ยาธาตุอบเชย ยาเข้าน้ำมันไพล นวดแผนไทย รำกระบอง สอนแผนไทย และนางหนาบ เป็นมิตร อายุ 62 ปี จากสำนักงานเทศบาลเมืองป่าตอง ภูมิปัญญาและความเชี่ยวชาญคือ ทำส้มตำโบราณ ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในครั้งนี้ทางจังหวัดจะได้เสนอชื่อให้ สท. จัดทำโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติส่งให้จังหวัดมอบให้ผู้สูงอายุต่อไป
ชาวเล 6 จังหวัดอันดามัน ประชุมหาทางออกปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล 6 จังหวัดอันดามัน ประชุมหาทางออกปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ระบุหลังมีมติ ครม.ช่วยเหลือชาวเล การแก้ไขปัญหาไม่คืบ พร้อมถกกรณีชาวเลบ้านแหลมตุ๊กแก จ.ภูเก็ต 17 คนออกหากินในทะเลอันดามันถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง จับกุม
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 10 ม.ค.2554 ที่ศาลาประชาคม อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการสัมมนาเครือข่ายผู้เสียโอกาสคนจนเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อการปฎิรูป กรณี กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล โดยมีตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จาก 6 จังหวัดอันดามัน 100 คน เข้าร่วมสัมมนา
นายสนิท แซ่ซั่ว ตัวแทนกลุ่มกลุ่มชาติพันธ์ชาวเลพื้นที่อันดามัน กล่าวว่า หลังจากเกิดอุบัติภัย สึนามิทำให้กลุ่มพี่น้องชาวเลเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในขณะเดียวกันปัญหาที่มีอยู่ดั้งเดิมและปัญหาใหม่ๆ ก็ยังคงรุมเร้าและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น มีทั้งปัญหาการร้องเรียนในเรื่องที่ดินที่อยู่อาศัย และการทำกินในทะเลรวมถึงวิถีชีวิต ขณะที่ชาวเลเองได้มีการรวมตัวกันจัดทำข้อมูล ประสานหน่วยงานราชการนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา กระทั่งล่าสุดได้มีมติ ครม.เห็นชอบในหลักการแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลตามแนวทางจัดทำพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษชาวเล เมื่อ 2 มิ.ย.2553
แต่ปรากฏว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2553 ชาวเลบ้านแหลมตุ๊กแก จ.ภูเก็ต จำนวน 17 คน ได้ออกทำการประมงในทะเลอันดามัน โดยนำสัตว์น้ำที่จับได้ไปขึ้นที่ท่าเรือชั่วคราวหาดยาว หมู่ที่ 6 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง และได้ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ทำการจับกุมพร้อมยึดเรือและของกลางซึ่งประกอบด้วย หอยหน้ายักษ์หรือหอยสังข์หนาม หอยสังข์แดง ซึ่งถือว่าเป็นการจับกุมที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากสัตว์น้ำที่ชาวเลจับได้ มิได้เป็นการจับสัตว์น้ำในเขตอุทยาน รวมถึงหอยทั้งสองชนิดที่ถูกยึดเป็นของกลางก็มิได้เป็นสัตว์สงวนต้องห้ามแต่อย่างใด ล่าสุดคดีนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและมีการปล่อยตัวชั่วคราว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอคำสั่งพนักงานอัยการว่ามีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่อย่างไร
จากกรณีที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เห็นชัดว่า มติ ครม.เป็นเพียงลายลักษณ์อักษรทางเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานของรัฐเองมิได้นำพาไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง การสัมมนาในครั้งนี้จึงเป็นการประชุมเพื่อหารือพร้อมนำเสนอปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาไปยังภาครัฐ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม
ด้านนางปรีดา คงแป้น คณะกรรมการสมัชชาปฎิรูปฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่าชุมชนชาวเลที่กระจายอยู่ใน 6 จังหวัดอันดามันกว่า 30 ชุมชน ยังคงประสบปัญหาทั้งด้านความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยเพราะไม่มีเอกสารสิทธิที่ดิน ปัญหาที่ทำกินอยู่ในเขตอุทยาน เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ และถูกเอกชนกำหนดเขตท่องเที่ยว ปัญหาสุสานและสถานที่ประกอบพิธีกรรมถูกรุกรานจากการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และอื่นๆ เนื่องจากชาวเล เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่รักความสงบ วิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ไม่มีความรู้และมักถูกเอาเปรียบ จึงเป็นกลุ่มที่เปราะบาง หากไม่มีการปกป้องจากสังคมอาจมีโอกาสสูญเสียความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่อันดามันได้
การจัดสัมมนาขึ้นในครั้งนี้เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอย่างมีระบบมากขึ้น เพื่อจัดทำข้อมูลและประเด็นปัญหาที่เป็นปัจจุบันนำไปสู่การวางแผนและการทำงานเพื่อพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล รวมถึงการเรียนรู้สถานการณ์กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป
มอบรางวัลที่2,3 สลากกาชาดภูเก็ต
นิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นลินี อัครเดชา นายกเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต และสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต ร่วมมอบรางวัลที่ 2 รถกระบะตอนเดียวให้แก่ผู้โชคดี อนันต์ เบ็นราโสย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ต.เกาะแก้ว อ.เมืองภูเก็ต และร่วมมอบรางวัลที่ 3 รถจักรยานยนต์ ให้แก่นายนพรัตน์ วงศ์จิตต์ซื่อ อยู่ ต.ตลาดเหนือ อ.เมืองภูเก็ต ผู้โชคดีจากการออกรางวัลสลากกาชาด ประจำปี 2554 งานเทศกาลของดีภูเก็ตและงานกาชาดจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2554 ที่สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต เมื่อ 11 ม.ค.
ภูเก็ต จัดเวทีประชาคมเพื่อกำหนดประเด็นปัญหาสังคมสู่แนวทางการแก้ไข
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 11 มกราคม 2554 ที่ห้องประชุมมูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานพิธีเปิดเวทีประชาคมระดับจังหวัด เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาสังคม สู่แนวทางการแก้ไข โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนองค์กรสาธารณะประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเครือข่ายอาสาสมัครเข้าร่วม
น.ส.พรรณี สิทธิการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การจัดเวทีประชาคมระดับจังหวัด เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาสังคมครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นปัญหาสังคมของจังหวัดภูเก็ต และแนวทางการแก้ไขปัญหา มุ่งขับเคลื่อนงานกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ตามโครงการกระจายกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาสังคม และคุณภาพชีวิต และโครงการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประกอยด้วยการแบ่งกลุ่มรับฟังความคิดเห็นต่อปัญหาสังคมหลักของจังหวัด ซึ่งต้องเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการรุกรามขยายตัวก่อให้เกิดปัญหาสังคมอื่น ๆ ตามมา จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข้อย่างเร่งด่วน และปัญหาดังกล่าวต้องตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงยุทธศาสตร์ของจังหวัด พร้อมทั้งการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจัดลำดับความสำคัญ ทั้งนี้ จะได้นำประเด็นปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วน 1 ประเด็น ตามที่เวทีเสนอไปกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไข โดยการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนจากกองทุนส่งเสริมจัดสวัสดิการสังคม ตามโครงการกระจายเงินกองทุนสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ในเรื่องการจัดสวัสดิการสังคมระดับจังหวัดเชิงประเด็นและกลุ่มเป้าหมาย และจะนำประเด็นปัญหาดังกล่าวมาดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาสังคม และคุณภาพชีวิต และการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางด้านสังคม
ด้านนายสมเกยีรติ กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตมีปัญหาสังคมหลายเรื่องด้วยกัน เช่น ปัญหาเด็กและเยาวชน ,ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวเปราะบาง ปัญหาความอ่อนแอของชุมชนและสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาค่านิยม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการบุกรุกสถานที่สาธารณะ ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่างๆ ดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องใช้พลังทางสังคมและชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหาสังคมของจังหวัดนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมสะท้อนปัญหาในพื้นที่หรือปัญหาที่ได้พบเห็นนำมาเสนอต่อเวทีสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน และทุกฝ่ายต้องร่วมสร้างจิตสำนึกโดยต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาและมองว่าปัญหาสังคมเหล่านั้น เป็นปัญหาของชุมชนหรือสังคม ไม่ใช่ผลักว่าการแก้ไขปัญหาสังคมเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแก้ไข ซึ่งโดยความเป็นจริงนั้น การแก้ไขปัญหาสังคมให้ได้ผลนั้น ต้องเกิดจากการร่วมมือกันของฐานชุมชน ด้วยการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ท้องถิ่น และประชาสังคมเพื่อการจัดการแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง ทั้งนี้แต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย ท้องถิ่นต้องกำหนดการพัฒนาด้วยการมองและสะท้อนปัญหาของตัวเอง เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
น.ส.พรรณี สิทธิการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุ
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประกอยด้วยการแบ่งกลุ่มรับฟั
ด้านนายสมเกยีรติ กล่าวว่า
ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหาสั
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)